วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บรรจุภัณฑ์ถุง Kokoa Hut คนไทยได้รางวัลระดับโลก The Dieline Awards 2011

โกอินเตอร์อีกแล้ว!!! บรรจุภัณฑ์ไทย (Packaging)
หลังจากที่ Packaging City เคย Review บรรจุภัณฑ์ไทยที่ไปชนะรางวัล PENTAWARDS  เป็นการประกวดบรรจุภัณฑ์ของสมาคม The Dieline ชื่อการประกวดว่า The Dieline Awards 2011
สมาคม The Dieline นั้นเป็นสมาคมที่รวบรวมแรงบันดาลใจทางด้านบรรจุภัณฑ์จากทั่วทุกมุมโลก ซึ่งการแข่งขันรางวัลประกวดการออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging) แข่งขันทั่วโลก บริษัทชั้นนำของโลกส่งผลงานรวมกว่า 900 ผลงาน จาก 31 ประเทศ ชั้นนำทั่วโลก เพื่อชิงความเป็นบรรจุภัณฑ์ยอดเยี่ยม 39 รางวัลใน 13 ประเภทจากหมวดหมู่ต่างๆ จะถูกตัดสินโดย 12 ผู้เชี่ยวชาญระดับโลกเช่น Debbie Millman ผู้สร้างแบรนด์ Coca-Cola, Hershey, Hallmark เป็นต้น

แต่กลับกลายเป็นว่าคนไทยไปชนะมาอีกแล้ว ต้องชื่นชมจริงๆสำหรับการสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ กว่าจะฝ่าด่านของท่านกรรมการมาจวบจนได้รับรางวัลที่ 1 นั้นต้องยกนิ้วให้บริษัท Prompt Design มา ณ ที่นี้ด้วยทางทีม Packaging City นั้นได้มีโอกาสไปสัมภาษณ์อย่าง คุณสมชนะ กังวารจิตต์ แห่ง Prompt Design ว่ามีแนวความคิดว่าอย่างไรบ้าง

ผลงานที่ได้รับรางวัลนั้นเป็นผลงานที่ทำให้แบรนด์ช็อกโกแลต(Chocolate)คนไทยอย่าง Kokoa hut โดยผลงานนั้นเป็นถุง Shopping Bag ที่สร้างให้เป็น Interactive Packaging อย่างแท้จริง โดยศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภค ผนวกกับวาระโอกาสต่างๆ จึงออกมาเป็น ถุง Shopping Bag ที่สามารถบ่งบอกความรู้สึก ให้กับผู้รับได้อย่างง่ายๆ เพียงแค่พลิกแผ่นกระดาษที่ทำรอยฉลุไว้ขึ้น เป็นข้อความหรือรูปภาพต่างๆ ตามที่เราต้องการ ขั้นตอนการพัฒนาไอเดียไปสู่งานจริงนั้น เป็นขั้นตอนที่ยากตั้งแต่ลูกค้า เราต้องพยายาม Approach ลูกค้า ให้มั่นใจและยอมรับงานออกแบบที่เราได้นำเสนอไป เนื่องจากค่า Production ของ ถุง Shopping Bag นั้นราคา ต่อหน่วยค่อนข้างสูงมาก อีกทั้งงานสไตล์นี้ในปี 2008 ถือเป็นงานที่ใหม่มาก ดังนั้นต้องให้เวลาพัฒนาแบบทั้งการ เลือกใช้พื้นผิวของกระดาษ และวัสดุต่างๆ อยู่พอสมควร ทำให้ Cost ของถุงใบนี้ไม่ง่ายอย่างที่คิด ตกถุง ราคา 50 บาทต่อหนึ่งใบ ซึ่งสรุปสุดท้ายนั้นถุงใบนี้จะต้องแจกฟรีสำหรับลูกค้าที่ซื้อของครบ 1,000 บาท คำถามคือ แล้วจะคุ้มรึป่าว?? คือตอบคือคุ้มมากๆ เพราะ Feedback ที่ได้รับกลับมาถือว่ายอดขายทะลุเลยก็ว่าได้ มีลูกค้าหลายๆราย ประทับใจ และชมเป็นจำนวนมาก จนขนาดว่าอยากได้ถุงจนต้องซื้อช็อกโกแลตกันเลยทีเดียว


ซึ่งทั้งหมดนี้ทางคณะกรรมการของ The Dieline Awards 2011 ชมว่าสามารถประยุกต์เอาไลฟ์สไตล์ของแบรนด์มา สร้างเป็น Packaging ที่จดจำได้ น่าซื้อ แปลกใหม่ ทำให้ทีมคณะกรรมการบอกได้คำเดียวว่า มันทำให้เค้ารู้จักแบรนด์ Kokoa Hut ของไทย ทั้งๆที่แบรนด์ช็อกโกแลตมันต้องมาจากต่างประเทศ ตัวอย่างนี้เป็นการสร้างแบรนด์ด้วยบรรจุภัณฑ์ อย่างแท้จริง


Ref : http://packagingcity.wordpress.com

วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

หนุ่มนักคิดเจ้าของรางวัลบรรจุภัณฑ์สาย USB จากเวที Thai Star Packaging 2010

ล่าสุดจากเวทีการประกวดบรรจุภัณฑ์ของไทย หรือที่เรียกว่า THAI STAR PACKAGING ประจำปี 2010 ที่ผ่านมาทางเราได้ไปเตะตาไอเดียรางวัลชนะเลิศจากเวทีนี้มา จะเป็นอย่างไรต้องติดตาม..!!!


การประกวดครั้งนี้ใช้โจทย์ภายใต้หัวข้อยอดฮิต Green Packaging ก็คือบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมนั่นเอง ซึ่งน้องนวัต ศักดิ์ศิริศิลป์ จาก สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง ก็คว้ารางวัลชนะเลิศนี้ไปครอง ผลงานที่น้องนวัตนั้นออกแบบก็คือ บรรจุภัณฑ์ของ สายUSB (UNIVERSEL USB POWER & DATA LINK)
รูปแบบกล่องบรรจุภัณฑ์สำหรับสาย USB

 โดยแนวความคิดมาจาก ในปัจจุบันบรรจุภัณฑ์ของ สายUSB เป็นแบบใช้แล้วทิ้ง ไม่มีประโยชน์ต่อ ทำให้เหลือแต่สายUSB ซึ่งสายUSB ในเวลาใช้งานหรือเก็บก็ลำบากเพราะมีหลายสายง่ายต่อการพันกัน จึงได้มีแนวความคิดในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ของ สายUSB ที่ช่วยในการจัดระเบียบสายไฟให้ใช้งานได้ง่ายขึ้นและไม่ดูรกตาในเวลาใช้หรือ เก็บ ซึ่งบรรจุภัณฑ์ชิ้นนี้ได้ออกแบบให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยสามารถใช้ควบคู่กับสาย USB ได้ เมื่อทิ้งก็สามารถนำมา Recycle ได้ มีการใช้ Soy Ink ในการพิมพ์ ลวดลายก็ใช้เพียงสีเดียว(หมึกน้อย) และยังสามารถคลี่ให้แบนราบเพื่อสะดวกต่อการขนส่งอีกด้วย
รูปแบบกล่องบรรจุภัณฑ์ด้านนอก (ข้างหน้า/ข้างหลัง)
รูปแบบกล่องบรรจุภัณฑ์ด้านใน (ฝารายละเอียดสำหรับการใช้/ช่องสำหรับใส่สาย USB) 
รูปแบบการใส่สาย USB ที่ไม่เหมือนรูปแบบใคร
รูปแบบของกล่องบรรจุภัณฑ์
ชิ้นส่วนของบรรจุภัณฑ์แต่ละส่วน
ทางทีมงาน Packaging City เห็นว่าผลงานของน้องนวัตนั้นทำได้อย่างยอดเยี่ยมในทุกมิติในการที่จะพัฒนา ตัวบรรจุภัณฑ์ของ สาย USB เนื่องจากเข้ากับกระแสขยะเทคโนโลยีล้นโลก อีกทั้งยังสามารถโชว์ไอเดียทางด้านฟังก์ชั่นการใช้งานของกล่อง, การพับกล่อง, การเลือกใช้วัสดุ และเทคนิควิธีการพิมพ์ ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถตอบโจทย์ Green Packaging ได้อย่างลงตัวเลยทีเดียว

กิจกรรมการเรียนการสอนในวันที่ 15/07/56

วัน จันทร์ ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

        สัปดาห์ที่ห้าของการเรียนการสอนในรายวิชา ARTD3302 ออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์

1. การสอนวิธีการจัด/การตั้งค่าใน  Blogger Thasai  Herb

2. การตั้งชื่อกลุ่มใน Blogger จำเป็นที่จะต้องตั้งชื่อเป็นชุมชนหรือชื่อเจ้าของผลิตภัณฑ์ที่เราได้ไปศึกษามา พร้อมใส่ข้อมูลทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณต์ Thasai  Herb

3. ใน Blogger Thasai  Herb จะต้องมี 3ส. ประกอบไปด้วย
    - ส1. สืบค้น
    - ส2. การสร้างสรรค์ความสมมติฐาน
    - ส3. สรุปผล

4.  ศึกษากระบวนการผลิตภัณฑ์ พร้อมทั้งวางแผนในการสร้างกล่องบรรจุภัณฑ์และตัวอักษรบนกล่องบรรจุภัณฑ์ต้องกะขนาดอักษรให้เหมาะสมกับขนาดของกล่อง

5. หน้าที่ของเราคือการดีไซต์งานและจะต้องวางอนาคตให้กับผู้ผลิต

6. สิ่งสำคัญในการเขียนแบบ คือ
    - การปรับตัวแบรนด์สินค้า
    - สรุปและปัญหาสาเหตุของบรรจุภัณฑ์
    - วัสดุที่ใช้และกราฟิกที่ใช้ในบรรจุภัณฑ์
    - การวิเคราะห์ทางการมองของบรรจุภัณฑ์
    - การออกแบบโลโก้ใหม่

7. การเซฟงานใน Ai สามารถเซฟเป็นไฟล์ PDF. / EPS. / AI. / AIT.
    - PDF. = จัดเก็บข้อมูลเหมือนรูปภาพไม่สามารถแก้ไขงานได้
    - EPS. = เป็นไฟล์รวบรวมงาน+ภาพที่เป็นแบบ Vector 
                 สามารถเปิดได้ด้วยโปรแกรมทำภาพแบบ Vector 
                 ทุกชนิด เช่น Photoshop illustrastor coreldraw
    - AI.   = Create Outlines (ไม่สามารถแก้ไขข้อความได้)
    - AIT.  = No Create Outlines (สามารถแก้ไขข้อความได้)

* งานทุกอย่างต้องลงใน  Blogger Thasai  Herb พร้อมทั้งต้องเห็นความคีบหน้าของงานทั้งหมด *

วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แปลสรุปข่าวสาร 6 Brown Eggs ( Concept )

  • แปลสรุปบทความเรื่อง  6 Brown Eggs ( Concept ) คอนเซปในรูปแบบ ไข่สีน้ำตาล

เขียนโดย : Sarah
จากเว็บไซต์ : http://www.packagingoftheworld.com


 
ที่มา : http://4.bp.blogspot.com 

6 Brown Eggs (Concept)

Designed by Sarah Machicado, a graduate from Maryland Institute College of Art.

Brand and Sustainable Package Design concept for 6 extra large, organic brown eggs. Envisioned to be printed with soy based inks on 100% post consumer corrugated paper board, an environmentally conscience alternative to a plastic incased egg package.

  
ที่มา : http://2.bp.blogspot.com

สรุปข่าวเืรื่อง 6 Brown Eggs (Concept)

ออกแบบโดย ซาร่าห์ มาชิคาโด, จบการศึกษาจากรัฐแมรี่แลนด์สถาบันวิทยาลัยศิลปะ
ตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์มีแนวคิดในการออกแบบอย่างยั่งยืนโดยมีรูปแบบ บรรจุภัณฑ์สำหรับวางไข่ไก่ 6 ฟองขนาดใหญ่พิเศษ  
ใน Concept 6 Brown Eggs. คำว่า Brown หมายถึงสีน้ำตาลอินทรีย์ที่จินตนาการจากไข่ไก่
โดยบรรจุภัณฑ์ได้เลือกใช้กระดาษลูกฟูก3ชั้นเพื่อสำหรับการกันกระแทกสินค้าโดยไม่เน้นความแข็งแรงมากนัก
การเลือกใช้กระัดาษลูกฟูกสำหรับการทำบรรจุภัณฑ์นี้เพื่อให้ผู้บริโภคมีจิตใต้สำนึกต่อ
สิ่งแวดแวดรวมไปทั้งหมึกในการตีพิมพ์ลงบนบรรจุภัณฑ์ก็ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกันเพราะได้ใช้หมึกพิมพ์ถั่วเหลือง 100%
โดยหมึกพิมพ์ถั่วเหลืองนี้มีลักษณะกับหมึกพิมพ์ทั่วไปแต่แตกต่้างกันตรงที่
น้ำมันถั่วเหลืองไม่มีสารพิษและนอกจากจะช่วยให้มลพิษทางอากาศที่สูดดมกัน
เข้าไปลดน้อยลงอีกด้วย
การออกแบบบรรจุภัณฑ์ในลักษณะนี้เป็นรูปแบบกล่องมีฝาเปิดสองด้่้้าน มีลวดลายหูหิ้วที่สะดุดตาช่วยให้ง่ายต่อการเคลื่อนย้ายได้อย่างสะดวก และไม่ต้องกังวลกับตัวสินค้าว่าจะมีความชำรุดหรือเสียหาย
สีและตัวอักษรบนบรรจุภัณฑ์  จะเป็นกล่องพื้นสีขาวมีตัวอักษรสีดำโดยการใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่เล็กเพื่อใช้
สำหรับการจัดวางตัวอักษรและการดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคด้วยตัวอักษร คือการเน้นข้อความใหญ่ที่สามารถทำให้ผู้บริโภครับรู้และเข้าใจได้ว่า ภาพลักษณ์ของบรรจุภัณฑ์นี้คืออะไร ?
โทนสีที่ใช้ในบรรจุภัณฑ์จะเป็นโทนสีขาวดำ


ที่มา : http://1.bp.blogspot.com
ภาพการแสดงข้อมูลและรายละเอียดด้านบนของบรรจุภัณฑ์
 
 
ที่มา : http://4.bp.blogspot.com
ภาพการแสดงข้อมูลรายละเอียดด้านในของบรรจุภัณฑ์
 
การแสดงความคิดเห็นจากผู้อ่านที่มีต่อผลงานนี้คือ :

-บรรจุภัณฑ์ที่มีความปลอดภัยสำหรับไข่ เป็นประโยชน์ที่สุดสำหรับของที่บอบบาง
-การรักษาพิมพ์และวัสดุที่ดีชวนน่ามองแต่การออกแบบในแง่ของบรรจุภัณฑ์คิดว่าไม่แน่ใจว่าจะใช้ได้
-น่าสนใจมากสำหรับตัวอักษรและรูปแบบ แต่ไม่แน่ใจในวิธีการวางซ้อนกันของบรรจุภัณฑ์ได้และการขนส่งบรรจุภัณฑ์นี้จะเป็นการไม่สะดวกในการวางซ้อนเมื่อเทียบกับกล่องไข่ปัจจุบันมี
 

ที่มา : http://1.bp.blogspot.com
ภาพการแสดงข้อมูลรายละเอียดด้านข้างของบรรจุภัณฑ์


แปลสรุปข่าวสาร Coffee BevBax

  • แปล-สรุปบทความเรื่อง Coffee BevBax  ( กาแฟเคลื่อนที่ )
เขียนโดย : Luke Booth
จากเว็บไซต์ : http://www.packagingoftheworld.com


 
ที่มา : http://2.bp.blogspot.com

Coffee BevBax

Designed by P4CK Ltd, United Kingdom.
Designers: Luke Booth, Chris Eves

The BevBax™ is our revolutionary solution to food and drink on the go. It is a robust packaging solution that can carry a combination of snack food and beverage in one hand! By employing our unique patent pending application of cardboard sleeve and bag: The BevBax™ delivers all the benefits of a traditional box, but with substantially reduced packaging weight. The flat-pack design pops open easily and can feature high impact branding up to 6 colours.

 
ที่มา : http://4.bp.blogspot.com
รูปแบบกล่องกระดาษบรรจุภัณฑ์

สรุปข่าวเรื่อง Coffee BevBax

ออกแบบโดย P4CK จำกัด , สหราชอาณาจักร
นักออกแบบ: ลุคบูธ 

BevBax(แวปแวฟ)เป็นวิธีการแก้ไขกล่องกระดาษบรรจุภัณฑ์ในการปฏิวัติเพื่อ
อาหารและเครื่องดื่มในระหว่างการเดินทางนั้นเป็นวิธีการแก้บรรจุภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพซึ่งสามารถดำเนินการรวมกันกับกาแฟและขนมขบเคี้ยวและเครื่องดื่มในมือข้างหนึ่ง! โดยการใช้สิทธิบัตรโปรแกรมไม่ซ้ำกันอยู่ระหว่างการพิจารณาของกล่องกระดาษและถุง: BevBax ให้ประโยชน์ทั้งหมดของกล่องในแบบเดิม
แต่มีการลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับของบรรจุภัณฑ์ที่ต้องถือหลายอย่างในแบบเดิม



ที่มา : http://2.bp.blogspot.com
กล่องกระดาษบรรจุภัณฑ์เพื่อนำไปใช้กับสินค้า




แปลสรุปข่าวสาร Curve Bakery

  • แปล-สรุปบทความเรื่อง   Curve Bakery  (เบเกอรี่)
เขียนโดย : Citra Limanto 
จากเว็บไซต์ :  http://www.packagingoftheworld.com

  
ที่มา : http://2.bp.blogspot.com

Curve Bakery

Designed by Citrartwork, Indonesia.
Designer: Citra Limanto
Low carb bread is one of the most sought after foods for anyone following a low carb diet.
Curve Bakery helps you to curves your body. Curve bread was specifically designed to curb your appetite allowing you to take in less calories and carbs making this the perfect low carb diet bread.
Curve Bakery is a homemade bakery that specializes in gluten free products. The bakery uses all natural ingredients including organic beans, soy, and nut flours for their baked goods

                                          ที่มา : http://4.bp.blogspot.com

สรุปข่าวเรื่อง Curve Bakery

ขนมปังคาร์โบไฮเดรตต่ำเป็นหนึ่งในที่ต้องการมากที่สุดสำหรับทุกคน
และบรรจุภัณฑ์นี้ได้ออกแบบตัวบรรจุภัณฑ์ที่มีการดีไซด์โดยการให้เห็นตัวสินค้าว่าเป็นใน
รูปแบบอย่างไร ทั้งนี้ได้ใช้รูปทรงโค้งของบรรจุภัณฑ์เพื่อเปรียบกับร่างกายที่สวยงามของผู้หญิง
ในการออกแบบในลักษณะรูปทรงโค้งนี้เพื่อลดความอยากอาหารโดยช่วยใ้ห้แึคลอรี่ลดน้อยลงเมื่อมีความอยากอาหาร สีที่ใช้สำหรับบรรจุภัณฑ์ คือ สีพื้นหลักคือสีขาวและสีน้ำตาล ตัวอักษรใช้สีเหลืองและสีน้ำตาล เพื่อให้มีความเรียบหรูดูน่าสนใจ




วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ไอเดียซูชิสมัยใหม่ในบรรจุภัณฑ์หลอดพลาสติก

จาก Sushi Poppers

                                               รูปแบบผลิตภัณฑ์ของซูชิ ป๊อปเปอร์
 ที่มา : http://4.bp.blogspot.com 

บริษัท Popper Foods ได้เปิดตัว “Sushi Poppers” โดยจะเป็นซูชิในหลอดพลาสติก ซึ่งเวลาที่จะรับประทานก็เพียงแค่ดันซูชิออกมาจากหลอดด้วยไม้ที่ให้มา นอกจากนี้ยังมีซอสถั่วเหลืองหรือโชยุไว้ให้ด้วย ซึ่งดูๆไปแล้วก็คล้ายๆกับขนมที่พวกเราเคยรับประทานตอนเด็กๆที่เป็นลูกอมใน หลอดนั่นเอง ที่สำคัญไอเดียบรรจุภัณฑ์หลอดพลาสติกนี้ยังสามารถช่วยลดการตัดไม้เพื่อนำไป ทำตะเกียบได้อีกด้วย!!
สามารถดูรูปและคลิปไอเดียซูชิสมัยใหม่ในบรรจุภัณฑ์หลอดพลาสติก จาก Sushi Poppers เพิ่มเติมด้านล่าง
รูปแบบในแต่ละด้านของผลิตภัณฑ์ 
ที่มา :  http://1.bp.blogspot.com

การจัดส่งรายวัน > การจัดซื้อ > การจัดติดและผลักดัน > ภาพการรับประทานสินค้า
ที่มา : http://3.bp.blogspot.com
ตารางรายละเอียดของตัวสินค้าบนบรรจุภัณฑ์
ที่มา :  http://2.bp.blogspot.com


 

คลิปวิดีโอ : การสำรวจตลาดสินค้าจากผลิตภัณฑ์ Sushi Poppers

สรุปความหมายของการออกแบบกราฟิกและการออกแบบบรรจุภัณฑ์

1. ความหมายของคำว่าการออกแบบกราฟิก (Graphic Design)
 ที่มา : http://www.thaiwebexpert.com
ความหมายของการออกแบบกราฟิกป็น ลักษณะของการออกแบบพื้นผิว 2 มิติ เพื่อเป็นสื่อกลางสำหรับการถ่ายทอดข้อความ ความรู้สึกนึกคิด และอารมณ์ จากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งเพื่อให้เข้าใจและรู้เรื่องโดยใช้ประสาทตา ในการรับรู้เป็นส่วนใหญ่
ขอบข่ายของงานกราฟิก
งานกราฟิกเป็นงานที่ดูเผิน ๆ น่านะเกี่ยวกับงานพิมพ์เท่านั้นแต่จริง ๆ แล้วงานกราฟิกยังเป็น งานที่มีความเกี่ยวพันกับงานอื่น ๆ อีก ได้แก่
- การประชาสัมพันธ์ ถือได้ว่างานกราฟิกนี้เป็นงานที่ควบคู่ไปกับงานบริหาร เพราะเนื้อหาของ การประชาสัมพันธ์ที่ออกไปนั้น หากไม่ดึงดูดความสนใจที่ดีแล้วย่อมไม่สามารถที่จะสื่อความหมายกันระหว่างผู้ ชมกับฝ่ายองค์กรได้
- งานโทรทัศน์ กราฟิกจะเกี่ยวข้องในส่วนที่เป็นหัวเรื่อง(Title) สไลด์ ฯลฯ
- งานจัดฉากละคร เช่นการจัดฉากในรูปแบบต่าง ๆ การออกแบบตัวหนังสือ
- งานหนังสือพิมพ์ วารสารนิยมใช้สัญลักษณ์ทางการฟิกกันมากเพราะสัญลักษณ์เหล่านี้ทำให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย
- งานออกแบบ หรือแบบร่าง เช่นออกแบบบ้าน
- เขียนภาพเหมือน
- งานพิมพ์หรือทำสำเนา
- ทำซิลค์สกรีน
- การออกแบบหนังสือ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ต่างๆ
ความสำคัญของการออกแบบงานกราฟิก
1. การออกแบบที่ดีต้องทำให้ข้อมูลที่กระจัดกระจายมีระเบียบมากขึ้น
2. ช่วยให้ระบบการถ่ายทอดข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็วและชัดเจน
3. ช่วยสร้างสรรค์งานสัญลักษณ์ทางสังคม เพื่อการสื่อความหมายร่วมกัน
4. ช่วยพัฒนาระบบการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
5. ช่วยให้เกิดจินตภาพ เกิดมีแนวคิดสิ่งใหม่อยู่เสมอ
6. ส่งเสริมให้เกิดค่านิยมทางความงาม
ประเภทของงานกราฟิก
การออกแบบงานกราฟิกใด ๆ ย่อมมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่แตกต่างกันไป ลักษณะเฉพาะของงานหรือเงื่อนไขต่าง ๆของงานและวิธีการดำเนินงานต้องสอดคล้องกับปัจจัยทุกด้านในการสร้างงานออก แบบจึงควรศึกษาถึงองค์ประกอบสำคัญ ๆ หลาย ๆ ด้าน แนวทางในการคิดงานกราฟิก จะแปรเปลี่ยนไปตามลักษณะของสื่อหรืองานแต่ละประเภทโดยสามารถจัดหมวดหมู่ได้ ดังนี้
สรุปความหมายการออกแบบกราฟิกจากแหล่งอ้างอิงของ
ที่มา : http://graphics.in.th
Bob Gill กราฟิก,ดีไซน์เนอร์ และ นักเขียนภาพประกอบชาวอเมริกันให้ความเห็นสั้นๆว่า ” Graphic Design เปรียบดังภาษาขั้นที่สอง”   เราสามารถสรุปภาพรวมและคำจำกัดความของคำ ว่า Graphic Design ได้ว่า Graphic Design คือ การออกแบบภาษาชนิดหนึ่งที่มีพื้นฐานมาจากองค์ประกอบทางศิลปะ ซึ่งสามารถบอกเล่าแนวคิดของเราต่อสิ่งต่างๆ โดยมันจะต้องน่าสนใจทั้งในแง่ตัวภาษาและเนื้อหาที่จะพูดถึงมัน

ที่มา : http://graphics.in.th
Massimo Vignelli นักออกแบบชาวอิตาลีได้ให้ความเห็นว่า ” กราฟฟิกดีไซน์เปรียบเสมือนกับการจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ” โดยประกอบไปด้วยเรื่องต่างๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงควาหมายให้ถูกต้อง, การจัดการกับประโยค หรือข้อความที่สอดคล้องกัน และการจัดการกับส่วนที่มีความหมายยุ่งยากต่อการทำความเข้าใจ ให้เข้าใจได้อย่างง่ายดาย”   
ที่มา : http://graphics.in.th
Tibor Kalman นักกราฟฟิกดีไซน์เนอร์ชาวฮังการีแห่งค่าย Colors Magazine ได้ให้สัมภาษณ์กับ Moira Cullen นักเขียนทางด้านการออกแบบชั้นนำไว้ว่า ” Graphic Design คือภาษาอย่างหนึ่ง แต่นักออกแบบกราฟิกไม่ต้องยุ่งยากหรือกังวลเกี่ยวกับหลักการในเรื่องของภาษา เช่นเรื่องพยางค์หรือเว้นวรรคมากนัก แต่นักออกแบบควรใช้เวลาไปสนใจในเรื่องการสื่อสารออกไปในทิศทางที่มันควรจะ เป็นให้ได้เสียมากกว่า”

สรุปความหมายโดยรวมของการออกแบบกราฟิก คือ
การออกแบบกราฟิกเป็นการออกแบบในรูปสื่อทางด้านภาษาเพราะใช้คำในการเป็นสื่อเพื่อให้เข้าใจในรูปแบบกราฟิกได้ง่ายขึ้นและตัวกราฟิกดีไซต์สามารถถ่ายทอดความรู้สึกได้ดี

2. ความหมายของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging Design) 


 ที่มา  :  http://www.siambig.com
ความหมายการออกแบบบรรจุภัณฑ์ (packaging)   หมายถึง  การกำหนดรูปแบบและโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์ให้สัมพันธ์กับหน้าที่ใช้สอยของ ผลิตภัณฑ์ เพื่อการคุ้มครองป้องกันไม่ให้สินค้าเสียหายและเพิ่มคุณค่าด้านจิตวิทยาต่อ ผู้บริโภค โดยอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ในการสร้างสรรค์

 ความหมายของการบรรจุภัณฑ์ (Packaging)   บรรจุภัณฑ์มีบทบาท ที่สำคัญยิ่งต่อผู้ผลิตสินค้า เนื่องจากบรรจุภัณฑ์สามารถทำหน้าที่ส่งเสริมการขาย กระตุ้นยอดขายให้เพิ่มขึ้น ในเวลาเดียวกันมีโอกาสลดต้นทุนสินค้าอันจะนำไปสู่ยอดกำไรสูงซึ่งเป็นเป้า หมาย ของทุกองค์กรในระบบการค้าเสรี
     คำนิยาม การตลาด คือกระบวนการทางด้านบริหารที่รับผิดชอบต่อกลุ่มเป้าหมายโดยการค้นหาความต้อง การ และสนองความต้องการนั้นเพื่อบรรลุถึงกำไร ตามที่ต้องการ ตามคำนิยาม การตลาดประกอบด้วย องค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ คือ กลุ่มเป้าหมาย การสนองความต้องการ และกำไร การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย เฉพาะนั้น จำเป็นต้องหาข้อมูลจากตลาด พร้อมทั้งค้นหาความต้องการ ของกลุ่มเป้าหมายในรูปของการบริโภค สินค้าหรือบริการ ส่วนการตอบสนองความต้องการนั้น ต้องใช้กลไกทางด้านส่วนผสมทางการตลาด เพื่อชักจูงให้กลุ่มเป้าหมายหรือผู้ซื้อให้เลือกซื้อสินค้าเราแทนที่จะซื้อ ของคู่แข่งเพื่อบรรลุถึงกำไรที่ได้กำหนดไว้

ความหมายของการบรรจุภัณฑ์ (Packaging)
การบรรจุภัณฑ์เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางการตลาด โดยเฉพาะปัจจุบันที่การผลิตสินค้า หรือบริการได้เน้นหรือให้ความสำคัญกับผู้บริโภค (Consumer Oriented) และจะได้เห็นว่าการบรรจุภัณฑ์มีบทบาทมากขึ้นเพราะลำพังตัวสินค้าเองไม่มีน วัตกรรม (Innvoation) หรือการพัฒนาอะไรใหม่อีกแล้ว ฉีกแนวไม่ออกเพราะได้มีการวิจัยพัฒนากันมานานจนถึงขั้นสุดยอดแล้ว จึงต้องมาเน้นกันที่บรรจุภัณฑ์กับการบรรจุหีบห่อ (Packaging) บรรจุภัณฑ์กับหีบห่อ (Package) ถือว่าเป็นคำคำเดียวกัน ทั้งนี้สุดแล้วแต่ผู้ใดประสงค์หรือชอบที่จะใช้คำใด

ที่มา :  http://netra.lpru.ac.th

การออกแบบบรรจุภัณฑ์
การออกแบบบรรจุภัณฑ์ อาจแบ่งประเภทลักษณะการออกแบบได้ 2 ประเภทคือ
•  การออกแบบลักษณะโครงสร้าง
•  การออกแบบกราฟฟิค
การออกแบบลักษณะโครงสร้าง หมายถึง การกำหนดรูปลักษณะ โครงสร้างวัสดุที่ใช้ตลอดจนกรรมวิธีการผลิต การบรรจุ ตลออดจนการขนส่งเก็บรักษาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์นับตั้งแต่จุดผลิตจนถึงมือ ผู้บริโภค

1. กระบวนการออกแบบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์

ในกระบวนการออกแบบโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์ ผู้วิจัยต้องอาศัยความรู้และข้อมูลจากหลายด้านการอาศัยความช่วยเหลือจากผู้ ชำนาญการบรรจุ (PACKAGING SPECIALISTS) หลาย ๆ ฝ่ายมาร่วมปรึกษาและพิจารณาตัดสินใจ ซึ่งอิงทฤษฏีของ ปุ่น คงเจริญเกียรติและสมพร คงเจริญเกียรติ (2542:71-83) โดยที่ผู้วิจัยจะกระทำหน้าที่เป็นผู้สร้างภาพพจน์ (THE IMAGERY MAKER) จากข้อมูลต่าง ๆ ให้ปรากฏเป็นรูปลักษณ์ของบรรจุภัณฑ์จริง ลำดับขั้นตอนของการดำเนินงาน นับตั้งแต่ตอนเริ่มต้น จนกระทั่งสิ้นสุดจนได้ผลงานออกมาดังต่อไปนี้ เช่น

1. กำหนดนโยบายหรือวางแผนยุทธศาสตร์ (POLICY PERMULATION OR ATRATEGIC PLANNING) เช่น ตั้งวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการผลิต เงินทุนงบประมาณ การจัดการ และการกำหนดสถานะ (SITUATION) ของบรรจุภัณฑ์ ในส่วนนี้ทางบริษัทแด่ชีวิตจะเป็นผู้กำหนด

2. การศึกษาและการวิจัยเบื้องต้น (PRELIMINARY RESEARCH) ได้แก่ การศึกษาข้อมูลหลักการทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และวิศวกรรมทางการผลิต ตลอดจนการค้นพบสิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นและเกี่ยวข้องสอดคล้องกันกับการออกแบบโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์

3. การศึกษาถึงความเป็นไปได้ของบรรจุภัณฑ์ ( FEASIBILITY STUDY ) เมื่อได้ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ แล้วก็เริ่มศึกษาความเป็นไปได้ของบรรจุภัณฑ์ด้วยการสเก็ต (SKETCH DESING) ภาพ แสดงถึงรูปร่างลักษณะ และส่วนประกอบของโครงสร้าง 2-3 มิติ หรืออาจใช้วิธีการอื่น ๆ ขึ้นรูปเป็นลักษณะ 3 มิติ ก็สามารถกระทำได้ ในขั้นตอนนี้จึงเป็นการเสนอแนวความคิดสร้างสรรค์ขั้นต้นหลาย ๆ แบบ (PRELIMINARY IDFAS) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในเทคนิควิธีการบรรจุ และการคำนวณเบื้องต้น ตลอดจนเงินทุนงบประมาณดำเนินการ และเพื่อการพิจารณาคัดเลือกแบบร่างไว้เพื่อพัฒนาให้สมบูรณ์ในขั้นตอนต่อไป

4. การพัฒนาและแก้ไขแบบ ( DESIGN REFINEMENT ) ในขั้นตอนนี้ผู้ออกแบบจะต้องขยายรายละเอียดปลีกย่อยต่าง ๆ (DETAILED DESIGN ) ของแบบร่างให้ทราบอย่างละเอียดโดยเตรียมเอกสารหรือข้อมูลประกอบ มีการกำหนดเทคนิคและวิธีการผลิต การบรรจุ วัสดุ การประมาณราคา ตลอดจนการทดสอบทดลองบรรจุ เพื่อหารูปร่าง รูปทรงหรือส่วนประกอบต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์ที่ต้องการด้วยการสร้างรูปจำลองง่าย ๆ (MOCK UP) ขึ้นมา ดังนั้นผู้ออกแบบจึงต้องจัดเตรียมสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้อย่างละเอียดรอบคอบเพื่อการนำเสนอ (PRESENTATION) ต่อลูกค้าและผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องให้เกิดความเข้าใจเพื่อพิจารณาให้ความคิด เห็นสนับสนุนยอมรับหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติมในรายละเอียดที่ชัดเจนยิ่ง ขึ้นเช่น การทำแบบจำลองโครงสร้างเพื่อศึกษาถึงวิธีการบรรจุ และหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์ก่อนการสร้างแบบเหมือนจริง

5. การพัฒนาต้นแบบจริง (PROTOTYPE DEVELOPMENT) เมื่อแบบโครงสร้างได้รับการแก้ไขและพัฒนา ผ่านการยอมรับแล้ว ลำดับต่อมาต้องทำหน้าที่เขียนแบบ (MECHANICAL DRAWING) เพื่อกำหนดขนาด รูปร่าง และสัดส่วนจริงด้วยการเขียนภาพประกอบแสดงรายละเอียดของรูปแบบแปลน (PLAN) รูปด้านต่าง ๆ (ELEVATIONS) ทัศนียภาพ (PERSPECTIVE) หรือภาพแสดงการประกอบ (ASSEMBLY) ของส่วนประกอบต่าง ๆมีการกำหนดมาตราส่วน (SCALE) บอกชนิดและประเภทวัสดุที่ใช้มีข้อความ คำสั่ง ที่สื่อสารความเข้าใจกันได้ในขบวนการผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ของจริง แต่การที่จะได้มาซึ่งรายละเอียดเพื่อนำไปผลิตจริงดังกล่าวนั้น ผู้ออกแบบจะต้องสร้างต้นแบบจำลองที่สมบูรณ์ (PROTOTYPE) ขึ้นมาก่อนเพื่อวิเคราะห์ (ANALYSIS) โครงสร้างและจำแนกแยกแยะส่วนประกอบต่าง ๆ ออกมาศึกษา ดังนั้น PROTOTYPE ที่จัดทำขึ้นมาในขั้นนี้จึงควรสร้างด้วยวัสดุที่สามารถให้ลักษณะ และรายละเอียดใกล้เคียงกับบรรจุภัณฑ์ของจริงให้มากที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ เช่นอาจจะทำด้วยปูนพลาสเตอร์ ดินเหนียว กระดาษ ฯลฯ และในขั้นนี้ การทดลองออกแบบกราฟฟิคบนบรรจุภัณฑ์ ควรได้รับการพิจารณมร่วมกันอย่างใกล้ชิคกับลักษณะของโครงสร้างเพื่อสามารถนำ ผลงานในขั้นนี้มาคัดเลือกพิจารณาความมีประสิทธภาพของรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ที่ สมบูรณ์

6. การผลิตจริง (production) สำหรับขั้นตอนนี้ส่วนใหญ่จะเป็นหน้าที่รับผิดชอบของฝ่ายผลิตในโรงงานที่จะ ต้องดำเนินการตามแบบแปลนที่นักออกแบบให้ไว้ ซึ่งทางฝ่ายผลิตจะต้องจัดเตรียมแบบแม่พิมพ์ของบรรจุภัณฑ์ให้เป็นไปตามกำหนด และจะต้องสร้างบรรจุภัณฑ์จริงออกมาจำนวนหนึ่งเพื่อเป็นตัวอย่าง (PRE- PRODUCTION PROTOTYPES) สำหรับการทดสอบทดลองและวิเคราะห์เป็นครั้งสุดท้าย หากพบว่ามีข้อบกพร่องควรรีบดำเนินการแก้ไขให้เป็นที่เรียบร้อยแล้วจึงดำเนิน การผลิตเพื่อนำไปบรรจุและจำหน่ายในลำดับต่อไป


สรุปความหมายโดยรวมของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ คือ 
การออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่สามารถกำหนอดรูปแบบทรงสร้างเองได้ตามบรรจุภัณฑ์ที่ได้คิดค้น และมีหน้าที่ไปยังป้องกันไม่ให้สินค้าเกิดความเสียหายได้ สามารถมีความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีความเก๋ไก๋สวยงามในรูปแบบบองสินค้าตัวนั้นและการออกแบบบรรจุภัณฑ์นี้เพื่อให้ผู้ซื้อสินค้ามีความต้องการมากยิ่งขึ้นเมื่อเห็นตัวแบบบรรจุภัณฑ์


 

หน้าที่ของบรรจุภัณฑ์

PACKAGE

หน้าที่ของบรรจุภัณฑ์ในสมัยก่อน การใช้บรรจุภัณฑ์ก็เพื่อเก็บรักษาสินค้าให้คงสภาพ (Protection) ในระยะเวลาหนึ่งหรือจนกว่าจะนำไปใช้ แต่เมื่อมีการแข่งขันทางการค้ามากขึ้น บรรจุภัณฑ์จึงมีบทบาทในด้านการส่งเสริมการตลาด (Promotion) เริ่มเน้นเรื่องความสวยงาม สะดุดตา ตลอดจนความสะดวกในการนำไปใช้ บรรจุภัณฑ์ในปัจจุบันมีหน้าที่

ที่มา : http://3.bp.blogspot.com

1. ทำหน้าที่รองรับ (Contain) บรรจุภัณฑ์จะทำหน้าที่รองรับสินค้าให้รวมกันอยู่เป็นกลุ่มน้อย หรือตามรูปร่างของภาชนะนั้น ๆ

2. ป้องกัน (Protect) บรรจุภัณฑ์จะทำหน้าที่ป้องกันคุ้มครองสินค้าที่บรรจุอยู่ภายในไม่ให้ยุบ สลาย เสียรูปหรือเสียหายอันเกิดจากสภาพสิ่งแวดล้อม ซึ่งประกอบด้วยสภาพดินฟ้าอากาศ ระยะเวลาในการเก็บรักษา สภาพการขนส่ง กล่าวคือให้คงสภาพลักษณะของสินค้าให้เหมือนเมื่อผลิตออกจากโรงงานให้มากที่ สุด

3. ทำหน้าที่รักษา (Preserve)
คุณภาพสินค้าให้คงเดิมตั้งแต่ผู้ผลิตจนถึงผู้บริโภคคนสุดท้าย

4. บ่งชี้ (Identify) หรือแจ้งข้อมูล (Inform) รายละเอียดต่าง ๆ ของสินค้าเกี่ยวกับชนิด คุณ - ภาพและแหล่งที่มาหรือจุดหมายปลายทาง โดยหีบห่อต้องแสดงข้อมูลอย่างชัดเจนให้ผู้บริโภครู้ว่าสินค้าที่อยู่ภายใน คืออะไร ผลิตจาที่ไหน มีปริมาณเท่าใด ส่วนประกอบ วันเวลาที่ผลิต วันเวลาที่ หมดอายุ การระบุข้อความสำคัญ ๆ ตามกฎหมาย โดยเฉพาะสินค้าประเภทอาหารและยา ชื่อการค้า (Trade Name) เครื่องหมายการค้า (Trade Mark)

5. ดึงดูดความสนใจ (Consumer Appeal) และช่วยชักจูงในการซื้อสินค้า เนื่องจากสินค้าชนิดใหม่มีเพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา การแข่งขันทางด้านตลาดก็เพิ่มมากขึ้นทุกวัน ผู้ซื้อสินค้าย่อมไม่อาจติดตามการเคลื่อนไหวทางด้านตลาดได้ทัน หีบห่อจึงต้องทำหน้าที่แนะนำผลิตภัณฑ์ที่ถูกบรรจุอยู่ให้กับผู้ซื้อด้วย ต้องดึงความสนใจของผู้ซื้อที่ไม่เคยใช้ผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ให้สนใจในการใช้ และหลังจากใช้แล้วเกิดความพอใจที่จะซื้อใช้อีก หีบห่อจะทำหน้าที่ขายและโฆษณาสินค้าควบคู่กันไปในตัวด้วย เสมือนหนึ่งเป็นพนักงานขายเงียบ (Silent Salesman) ดังนั้นการที่บรรจุภัณฑ์จะสามารถดึงดูดความสนใจ และชักจูงใจให้เกิดการซื้อได้จึงเป็นผลจากปัจจัยหลาย ๆ อย่าง เช่น ขนาด รูปร่าง สี รูปทรง วัสดุ ข้อความรายละเอียด ตัวอักษร ฯลฯ

6. ช่วยเพิ่มผลกำไร หีบห่อจะทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์ไม่ได้ ถ้าหากหีบห่อไม่สามารถช่วยเพิ่มผลกำไรให้กับผลิตภัณฑ์ที่บรรจุอยู่ หีบห่อสามารถช่วยส่งเสริมยุทธวิธีการตลาด โดยการเปิดตลาดใหม่หรือการเพิ่มยอดขายให้กับสินค้าแต่ละชนิด เนื่องจากในตลาดมีสินค้าและคู่แข่งเพิ่มขึ้นตลอดเวลา หากบรรจุภัณฑ์ของสินค้าใดได้รับการออกแบบเป็นอย่างดี จะสามารถดึงดูดตา ดึงดูดใจผู้บริโภคและก่อให้เกิดการซื้อในที่สุด รวมทั้งการลดต้นทุนการผลิต

7. สร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) ให้แก่ผลิตภัณฑ์ สร้างความเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค

8. การส่งเสริมการจำหน่าย (Promotion
) เพื่อยึดพื้นที่แสดงจุดเด่น โชว์ตัวเองได้อย่างสะดุดตา สามารถระบุแจ้งเงื่อนไข แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอผลประโยชน์เพิ่มเติมเพื่อจูงใจผู้บริโภค เมื่อต้องการจัดรายการเพื่อเสริมพลังการแข่งขัน ก็สามารถเปลี่ยนแปลงและจัดทำได้สะดวก ควบคุมได้และประหยัด

9. การแสดงตัว (Presentation) คือ การสื่อความหมาย บุคลิก ภาพพจน์ การออกแบบและสีสันแห่งคุณภาพ ความคุ้มค่าต่อผู้บริโภค / ผู้ใช้ / ผู้ซื้อ ให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ชัดแจ้ง สร้างความมั่นใจ เห็นแล้วอดซื้อไม่ได้

10. การจัดจำหน่ายและการกระจาย (Distribution) เหมาะสมต่อพฤติกรรมการซื้อขายเอื้ออำนวยการแยกขาย ส่งต่อ การตั้งโชว์ การกระจาย การส่งเสริมจูงใจในตัว ทนต่อการขนย้าย ขนส่ง และการคลังสินค้า ด้วยต้นทุนสมเหตุสมผล ไม่เกิดรอยขูดขีด / ชำรุด ตั้งแต่จุดผลิตและบรรจุจนถึงมือผู้ซื้อ / ผู้ใช้ / ผู้บริโภค ทนทานต่อการเก็บไว้นานได้

กิจกรรมการเรียนการสอนในวันที่ 08/07/56

วัน จันทร์ ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

         สัปดาห์ที่สี่ของการเรียนการสอนในรายวิชา ARTD3302 ออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์

1. การออกแบบบรรจุภัณฑ์ ART work การทำแบบจำลองโดย Sketup

2. ศึกษาโปรแกรม Boxgen เป็นโปรแกรมสร้างรูปกล่องบรรจุภัณฑ์จะมีรูปแบบของกล่องต่างๆมาให้ โดยสามารถกำหนดค่าเองได้ และตัวโปรแกรมจะคำนวนค่าต่างๆออกมา หลังจากนั้นก็สามารถนำไปออกแบบกราฟฟิกต่อไป   คลิกเพื่อดาวน์โหลดโปรแกรม Boxgen ได้ที่นี่

3. หาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์ว่ามีอะไรบ้าง?

4. การมู๊ดบอร์ดเดี่ยวและกลุ่ม เพื่อใช้ในการนำเสนอหน้าชั้นเรียน รายงานทั้งหมดของผลิตภัณฑ์ที่ได้ศึกษามาในแต่ละคนในจังหวัดชัยนาท และมู๊ดบอร์ด 

5. การทำรายงานกลุ่มโดยรูปแบบสไลด์ในไดร์ฟ เพื่อง่ายต่อการพีเซ็นต์งานออกแบบผลิตภัณฑ์ 

6. การทำรายงานในไดร์ฟ โดยการนำรายงานของทุกคนในกลุ่มมาจัดเรียงเข้าด้วยกันทั้งหมด เพื่อง่ายต่อการอ่านและการดูงานออกแบบผลิตภัณฑ์

*ในข้อ 5-6 จำเป็นต้องมีข้อมูลผลิตภัณฑ์สินค้าที่ได้ศึกษาจากจังหวัดชัยนาท ว่าในผลิตภัณฑ์มีอะไรบ้าง / รายชื่อกลุ่ม / โลโก้กลุ่ม / ผลิตภัณฑ์มีกี่ชนิดเป็นรูปแบบในลักษณะไหน เช่น สบู่เป็นลักษณะของแข็ง ส่วนแชมพูเป็นลักษณะของเหลว / การแยกประเภทสมุนไพร / การวิเคราะห์ดูปัญหาการดีไซต์ของผลิิตภัณฑ์ว่าต้องแก้ไขในจุดใดบ้าง / และการคิดชื่อแบรนด์ผลิตภัณฑ์ให้ใหม่ / การออกแบบโลโก้แบรนด์คนละ 1 แบบ / การสเก็ตแบบบรรจุภัณฑ์คนละ 3 แบบ 

7. การนำผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจาก จ.ชัยนาท มาเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์สินค้าที่มีชื่อเสียง

8. ฟอนต์ที่ใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ต้องใช้ฟอนต์ CRU กับ TH เท่านั้น
(แต่ถ้าไม่อยากได้ฟอนต์ CRU และ TH สามารถสร้างฟอนต์ใหม่เองได้ตามความต้องการ)